ประกาศองค์การบริหารส่วนตำบลหนองกระเจ็ด เรื่อง ประกวดราคาซื้อตามโครงการจัดซื้อรถดับเพลิงอเนกประสงค์ขนาดความจุไม่น้อยกว่า 8000 ลิตร จำนวน 1 คัน ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์

ประกาศองค์การบริหารส่วนตำบลหนองกระเจ็ด

เรื่อง  ประกวดราคาซื้อตามโครงการจัดซื้อรถดับเพลิงอเนกประสงค์ขนาดความจุ

ไม่น้อยกว่า 8000 ลิตร  จำนวน 1 คัน  ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์

ประกาศราคากลางจัดซื้อรถดับเพลิงอเนกประสงค์ขนาดความจุไม่น้อยกว่า 8,000 ลิตร จำนวน 1 คัน

                                      alt

ประกาศราคากลางจัดซื้อรถดับเพลิงอเนกประสงค์ขนาดความจุไม่น้อยกว่า 8,000  ลิตร  จำนวน  1  คัน

แนวทางการจัดพิธีและกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ ๙ เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๕ พรรษา ๑๒ สิงหาคม ๒๕๖๐

                                    alt

ประกาศเป็นทางการแล้ว!...แนวทางการจัดพิธีและกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ ๙ เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๕ พรรษา ๑๒ สิงหาคม ๒๕๖๐
วันนี้ (๗ ส.ค. ๖๐) รองปลัดกระทรวงมหาดไทย แจ้งทุกจังหวัดเตรียมการจัดงานเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ ๙ เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๕ พรรษา ๑๒ สิงหาคม ๒๕๖๐

alt

นายชยพล ธิติศักดิ์ รองปลัดกระทรวงมหาดไทย ในฐานะโฆษกกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า ตามที่รัฐบาลได้กำหนดจัดงานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ ๙ เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๕ พรรษา ๑๒ สิงหาคม ๒๕๖๐ นับเป็นมหามงคลพิเศษเป็นอย่างยิ่งที่ปวงชนชาวไทย จะร่วมกันแสดงความกตัญญูกตเวที เพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณและแสดงความจงรักภักดีถวายเป็นพระราชกุศล

เพื่อให้การจัดงานเฉลิมพระเกียรติฯ ในส่วนภูมิภาคเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและสมพระเกียรติ กระทรวงมหาดไทยได้แจ้งให้ทุกจังหวัดเตรียมการจัดงานเฉลิมพระเกียรติ โดยการจัดโต๊ะประดับพระฉายาลักษณ์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ ๙ ระบายผ้าสีฟ้าขาวพร้อมเครื่องราชสักการะ และประดับธงชาติกับธงอักษรพระนามาภิไธย "สก" ณ บริเวณศาลากลางจังหวัดตามที่พิจารณาเห็นว่าเหมาะสมระหว่างวันที่ ๗-๑๔ สิงหาคม ๒๕๖๐

สำหรับการจัดกิจกรรม ในวันเสาร์ที่ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๖๐ ประกอบด้วย
-การจัดพิธีทำบุญตักบาตรพระสงฆ์
-จัดพิธีลงนามถวายพระพร ณ ศาลากลาง
-จัดพิธีถวายเครื่องราชสักการะและพิธีจุดเทียนถวายพระพรชัยมงคล พร้อมกับการจัดงานในส่วนกลาง ในเวลา ๑๙.๑๙ น. โดยจะมีการถ่ายทอดสดพิธีถวายเครื่องราชสักการะและพิธีจุดเทียนถวายพระพรชัยมงคลผ่านทางสถานีโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทยและให้ประชาสัมพันธ์เชิญชวนข้าราชการและประชาชนทุกหมู่เหล่าในพื้นที่และร่วมแสดงความจงรักภักดี โดยพร้อมเพรียงกัน

 ในการจัดพิธีถวายเครื่องราชสักการะและจุดเทียนถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๕ พรรษา ๑๒ สิงหาคม ๒๕๖๐ เพลงที่ใช้ คือ "สรรเสริญพระบารมี"

 สำหรับบรรยากาศในงานสามารถใช้ได้ 2 เพลง คือ
1.เฉลิมพระชนมพรรษา 12 สิงหาคม
https://www.youtube.com/watch?v=1mCYj7lnc3Q

2.สดุดีมหาราชินี
https://www.youtube.com/watch?v=9bXqDmnFSMk
แนวทางการแต่งกาย
สำหรับข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจใส่เครื่องแบบปกติขาว
สำหรับประชาชน ผู้ชายใส่เสื้อพระราชทานโทนสีฟ้าอ่อน ผู้หญิงใส่ชุดไทย ชุดผ้าไทย หรือชุดสุภาพโทนสีฟ้าอ่อน
สำหรับนักเรียนนักศึกา สมาชิกหน่วยงาน องค์กรเอกชน ใส่ชุดเครื่องแบบตามสังกัด
***โดยแนวทางการแต่งกายนี้ รัฐบาลแจ้งล่าสุดว่า วันที่ 12 ส. ค. 60 ประชาชนไม่ต้องติดโบดำ และให้งดแต่งดำล้วน กล่าวคือ ให้ออกทุกข์ 1 วัน***

และมีคำที่ต้องระวัง อย่าใช้ผิดว่า พิธี "จุดทียนชัย" หรือ "จุดเทียนชัยถวายพระพร" ซึ่งสำนักพระราชวังแจ้งว่าที่ถูก จะต้องใช้คำว่า "จุดเทียนถวายพระพรชัยมงคล"

 

18 สิงหาคม 2560 วันวิทยาศาสตร์

วันวิทยาศาสตร์ 2560 ประวัติวันวิทยาศาสตร์ 18 สิงหาคม

alt

วันวิทยาศาสตร์ 2560 มาอ่านประวัติความเป็นมาของ วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ พร้อมด้วยคําขวัญวันวิทยาศาสตร์
          หลอดทดลอง บีกเกอร์ เครื่องชั่ง กล้องจุลทรรศน์ กล้องดูดาว ชามระเหย สามขา ตะแกรงลวด คีม กระจกนาฬิกา ฯลฯ ... อ๊ะ อ๊ะ ไม่ต้องเอาคิ้วไปชนกันให้เมื่อยค่ะ หลายคนคงสงสัยว่า ทำไมเราถึงเอ่ยชื่ออุปกรณ์หรือเครื่องมือวิทยาศาสตร์ต่าง ๆ เหล่านี้
          เนื่องจากในทุก ๆ วันที่ 18 สิงหาคม ของทุกปี เป็นอีกวันหนึ่งที่มีความสำคัญในวงการวิทยาศาสตร์ วงการดาราศาสตร์ และวงการศึกษาของไทย เพราะถ้าย้อนอดีตกลับไปเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2411 จะเป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 "พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย" ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรสุริยุปราคาเต็มดวง ที่ตำบลหว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ หลังจากที่พระองค์ทรงคำนวณการเกิดสุริยุปราคาไว้ล่วงหน้า 2 ปี ต่อมาคณะรัฐมนตรีจึงกำหนดให้วันที่ 18 สิงหาคมของทุกปี เป็น "วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ" ...วันนี้กระปุกดอทคอมเลยจะพาไปทำความรู้จักที่มาที่ไป และประวัติของ วันวิทยาศาสตร์ กันค่ะ...
          แต่ก่อนอื่นเราจะพาไปรู้จักความหมายของ "วิทยาศาสตร์" (Science) กันก่อน ซึ่งจริง ๆ แล้วคำว่า วิทยาศาสตร์ หมายถึง ความรู้เกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ ในธรรมชาติ ทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต รวมทั้งกระบวนการประมวลความรู้เชิงประจักษ์ ที่เรียกว่ากระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และกลุ่มขององค์ความรู้ที่ได้จากกระบวนการดังกล่าว ทั้งนี้การศึกษาในด้านวิทยาศาสตร์ยังถูกแบ่งย่อยออกเป็น วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ และวิทยาศาสตร์ประยุกต์
วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ

 
วันวิทยาศาสตร์

ประวัติวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ 

          รัฐบาลไทยกำหนดให้วันที่ 18 สิงหาคม เป็นวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ เนื่องจากวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2411 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินชลมารคและสถลมารค ทอดพระเนตรสุริยุปราคาเต็มดวง ที่ทรงคำนวณพยากรณ์ไว้ล่วงหน้า 2 ปี ว่าจะเกิดในวันอังคาร ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 10 ปีมะโรง สัมฤทธิศก จุลศักราช 1230 โดยจะเห็นหมดดวงและชัดเจนที่สุด คือ ที่หมู่บ้านหัววาฬ ตำบลหว้ากอ อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ตั้งแต่บริเวณ เกาะจาน ขึ้นไปถึง ปราณบุรี และลงไปถึง จังหวัดชุมพร จึงโปรดฯ ให้เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ไปสร้างค่ายหลวงและพลับพลาที่ประทับ มีคณะนักดาราศาสตร์จากประเทศฝรั่งเศส และเซอร์แฮรี ออด เจ้าเมืองสิงคโปร์ เดินทางมาเข้าเฝ้าฯ และร่วมในการสังเกตการณ์ และต่อมาได้มีการสร้าง "อุทยานวิทยาศาสตร์" ที่อำเภอบ้านหว้ากอ
วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ          ผลการคำนวณของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวแม่นยำมาก โดย เซอร์แฮรี ออด ได้บันทึกเหตุการณ์ไว้ ซึ่งต่อมาหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ได้แปลเป็นภาษาไทยในงานหว้ากอรำลึก ณ ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพฯ เมื่อ พ.ศ. 2518 ว่า "พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระสำราญมาก เพราะการคำนวณเวลาสุริยุปราคาของพระองค์ ได้พิสูจน์แล้วว่าถูกถ้วนที่สุด ถูกถ้วนยิ่งกว่าที่ชาวยุโรปได้คำนวณไว้"

          ต่อมา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงรับเอาศิลปวิทยาการ และความคิดสมัยใหม่มาประยุกต์ใช้ในการปกครองประเทศ ด้วยเหตุนี้องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) จึงได้ประกาศยกย่องพระเกียรติคุณของพระองค์ให้ทรงเป็นบุคคลสำคัญของโลก ด้วยพระราชกรณียกิจและพระเกียรติคุณนานัปการ โดยเฉพาะพระราชกรณียกิจด้านดาราศาสตร์ 


          ทั้งนี้ สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยเฉพาะทางด้านดาราศาสตร์ มีแนวคิดว่าน่าจะถือเอาวันที่ 18 สิงหาคมเป็นวันวิทยาศาสตร์ไทย ต่อมาวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2525 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็น "พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย" พร้อมทั้งกำหนดให้วันที่ 18 สิงหาคม เป็น "วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ" และเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2511 ได้มีการจัดงานขึ้นเนื่องในโอกาสครบรอบ 100 ปีของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

วันวิทยาศาสตร์

          นอกจากนี้ เมื่อปี พ.ศ. 2527 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้จัดงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติขึ้นเป็นครั้งแรก ระหว่างวันที่ 18-24 สิงหาคม โดยได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานราชการต่าง ๆ จนได้รับความสนใจทั้งจากภาครัฐ เอกชน และประชาชนทั่วไป ซึ่งทำให้คณะรัฐมนตรีได้เล็งเห็นความสำคัญ ดังนั้น เมื่อวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2528 คณะรัฐมนตรีจึงได้อนุมัติให้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ดำเนินการจัดงาน "สัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ" เป็นประจำทุกปี ระหว่างวันที่ 18-24 สิงหาคม


          สำหรับ "อุทยานวิทยาศาสตร์" ที่บ้านหว้ากอ จ.ประจวบคีรีขันธ์ นั้น ในเวลาต่อมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่ออุทยานนี้ว่า "อุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์" และได้รับพระบรมราชานุญาตให้จัดสร้าง พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบรมรูปหล่อประทับนั่งบนพระเก้าอี้ฉลองพระองค์เครื่องแบบทหารเรือ ชุดเดียวกับวันที่พระองค์ท่านเสด็จพระราชดำเนินมาบ้านหว้ากอ เพื่อเป็นการระลึกถึง "วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ"

วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ
 

พระราชกรณียกิจทางด้านดาราศาสตร์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ

รัชกาลที่ 4 บิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย


          พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดฯ ให้สร้างหอดูดาวบนเขาวัง ในจังหวัดเพชรบุรี เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2403 พระราชทานนามว่า "หอชัชวาลเวียงชัย" ซึ่งตลอดพระชนม์ชีพของพระองค์ ได้เคยทอดพระเนตรดาวหาง 3 ดวงคือ

          1. ดาวหางฟลูเกอร์กูส (Flaugergues s Comet) เป็นดาวหางที่มีขนาดใหญ่และมีหาง 2 หาง ปรากฏในรัชสมัย พระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อ พ.ศ. 2355 ขณะนั้นเจ้าฟ้ามงกฎมีพระชันษาราว 8 ปี เมื่อทรงเห็นแล้ว คงจะทรงติดตามศึกษาเรื่องดาวหางอยู่เสมอ เพราะว่าก่อนดวงที่ 2 จะมาปรากฏ พระองค์สามารถทรงนิพนธ์ประกาศฉบับแรกชื่อว่า "ประกาศดาวหางขึ้นอย่าได้วิตก" แจ้งแก่ประชาชน

          2. ดาวหางโดนาติ (Donati a Comet) เป็นดาวหางที่มีขนาดใหญ่มาก นักดาราศาสตร์อิตาเลียนค้นพบในคืนวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ 2401 และคืนต่อ ๆ มา จนถึงวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2402 (รวมเวลา 9 เดือน) ชาวไทยคงจะเห็นด้วยตาเปล่า ระหว่างเดือนกันยายน-ตุลาคม พ.ศ. 2401

          ดาวหางดังกล่าวมีลักษณะเป็น 2 หาง หางหนึ่งเหยียดตรง อีกหางหนึ่งเป็นพู่โค้งสวยงามอยู่ราว 2 เดือน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเกรงว่า เมื่อประชาชนเห็นดาวหางโดนาติ แล้วจะตื่นเต้นไปตามคำลือต่าง ๆ จึงทรงออกประกาศเตือนชื่อว่า "ประกาศดาวหางขึ้นอย่าได้วิตก" นับเป็นประกาศทางวิทยาศาสตร์ฉบับแรกของประเทศ มีความว่า "ดาวหางนี้ชาวยุโรปได้เห็นมาแล้วหลายเดือน ดาวหางนี้มีคติแลทางยาวไปในท้องฟ้า แล้วก็กลับมาได้เห็นในประเทศทั้งนี้อีก เพราะเหตุนี้อย่าให้ราษฎรทั้งปวงตื่นกัน และคิดวิตกเล่าลือไปต่าง ๆ ด้วยว่ามิใช่จะเห็นแต่ในพระนครนี้ และเมืองที่ใกล้เคียงเท่านั้นหามิได้ย่อมได้เห็นทุกบ้านทุกเมืองทั่วพิภพอย่างนี้แล"

          3. ดาวหางเทพบุท (Tebbut s Comet) เป็นดาวหางที่มีขนาดใหญ่ หางยาว และสว่างกว่าดาวหางโดนาติ ปรากฏแก่สายตาชาวโลก ระหว่างเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม พ.ศ. 2404 เป็นดาวที่พระองค์ทรงสนพระราชหฤทัยมากยิ่งขึ้น ถึงกับทรงได้คำนวณไว้ล่วงหน้าว่า จะปรากฏเมื่อใด และได้ทรงออกประกาศไว้ล่วงหน้า มิให้ประชาชนตื่นตระหนก ทั้งนี้เพราะพระองค์ มีพระราชประสงค์มุ่งขจัดความเชื่อ เกี่ยวกับเรื่องโชคลาง และทรงให้ราษฎรตั้งอยู่ในความไม่ประมาท เตรียมพร้อมที่จะเผชิญเหตุการณ์ (ถ้าจะเกิด) อย่างมีเหตุผลตามแบบวิทยาศาสตร์

16 สิงหาคม 2560 วันสันติภาพไทย

                  alt

16 สิงหาคม วันสันติภาพไทย ร่วมเชิดชูวีรบุรุษผู้คืนสันติภาพ

alt

          16 สิงหาคม วันสันติภาพไทย วันที่ประวัติศาสตร์ไทยต้องจารึก ร่วมเชิดชูวีรบุรุษผู้คืนสันติภาพสู่ประเทศไทย
          อาจจะจริงตามคำกล่าวที่ว่า โลกไม่เคยขาดแคลนสงคราม แต่สิ่งที่เข้ามายุติสงครามในทุกครั้ง นั่นคือ สันติภาพ เฉกเช่นเดียวกับประเทศไทยซึ่งเป็นอีกหนึ่งประเทศที่ได้ออกมาต่อสู้รักษาเอกราชอย่างไม่ท้อถอยและได้มีการประกาศสันติภาพภายหลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 และได้เรียกวันนั้นว่า "วันสันติภาพไทย" ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งวันสำคัญของประวัติศาสตร์ที่ไทยได้จารึกไว้ แต่เป็นที่น่าเสียดาย เมื่อในยุคหลัง ๆ คนส่วนใหญ่ทราบเพียงว่า ทุก ๆ วันที่ 16 สิงหาคม เป็น "วันสันติภาพไทย" เพียงเท่านั้น แต่แท้ที่จริงแล้ว วันสันติภาพไทย เกิดขึ้นได้อย่างไร มีที่มาที่ไปอย่างไร วันนี้กระปุกดอทคอมมีคำตอบ

วันสันติภาพไทย คือ ?
          ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2488 ภายหลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 นายปรีดี พนมยงค์ หัวหน้าขบวนการเสรีไทย ในฐานะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล (รัชกาลที่ 8) ได้ออกประกาศสันติภาพพระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ให้การประกาศสงครามต่อสหรัฐอเมริกา บริเตนใหญ่ ถือเป็นโมฆะ หรือเรียกได้ว่าเป็นการประกาศเอกราชอธิปไตย แสดงจุดยืนแห่งความเป็นกลาง มีอิสรภาพ โดยมี นายทวี บุณยเกตุ รัฐมนตรี เป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ
          สงครามโลกครั้งที่ 2 นับว่าเป็นสงครามอันแสนดุเดือด ร้ายแรง มีจำนวนผู้เสียชีวิตจากสงครามครั้งนี้กว่า 18 ล้านคนทั่วโลก แม้ประเทศไทยเองจะไม่ได้เป็นผู้จุดชนวนสงคราม แต่ก็ถูกดึงเข้าไปร่วมอยู่ในวิกฤตการณ์สงครามครั้งนี้อย่างเลี่ยงไม่ได้ หากในวันนั้นไม่มีกลุ่ม "ขบวนการเสรีไทย" ซึ่งนำโดย นายปรีดี พนมยงค์ ผู้เป็นแกนนำหลัก ที่ได้ออกมาต่อสู้ กอบกู้รักษาเอกราชอย่างไม่ท้อถอย ภายใต้อุดมการณ์ รักษาเอกราชอธิปไตยของประเทศไทยไว้ให้ได้ ประเทศไทยก็คงจะไม่กลับมามีความสงบสุข และไม่ถูกยึดครองดินแดนดังเช่นในทุกวันนี้
          ด้วยเหตุนี้เพื่อเป็นการรำลึกถึงคุณูปการคุณงามความดีของขบวนการเสรีไทย ชนรุ่นหลังจึงได้ถือเอาวันประกาศอิสรภาพดังกล่าว จารึกเป็น "วันสันติภาพไทย" โดยจะมีการจัดงานฉลองเพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ดังกล่าวในวันที่ 16 สิงหาคมของทุกปี
งานรำลึกขบวนการเสรีไทย
          เพื่อเป็นการรำลึกถึงคุณูปการ คุณงามความดีอันแสนยิ่งใหญ่ของขบวนการเสรีไทย ในวันที่ 16 สิงหาคมของทุกปี จึงได้มีการจัดงานวันสันติภาพไทย อีกนัยหนึ่งคือ เพื่อไม่ให้เรื่องราวสำคัญของประวัติศาสตร์ไทยกลืนหายไปกับกาลเวลา อีกทั้งยังเป็นการปลูกฝังให้ประชาชน รวมไปถึงเยาวชนรุ่นหลังมีอุดมการณ์ที่ยึดมั่นอยู่ร่วมกันด้วยความสันติ มีความเอื้ออาทรต่อกันและกัน

บทความ อื่นๆ ...


Thai Arabic Belarusian Chinese (Traditional) English French German Japanese Korean Vietnamese

















 

คุณพอใจ อบต.หนองกระเจ็ด ด้านใด





















 















QR Code
อบต.หนองกระเจ็ด



 


ลิขสิทธิ์ © 2559 - 2564 องค์การบริหารส่วนตำบลหนองกระเจ็ด จังหวัดเพชรบุรี สงวนไว้ซึ่งสิทธิทั้งหมด.
องค์การบริหารส่วนตำบลหนองกระเจ็ด อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี โทร 0-3258-6261

นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล