8 กรกฎาคม 2560 วันอาสาฬหบูชา 15 ค่ำ เดือน 8

         alt

alt

วันอาสาฬหบูชา เป็นวันหยุดราชการไทย หนึ่งในวันสำคัญของศาสนาพุทธ เป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมเทศนาเป็นครั้งแรก แก่ปัญจวัคคีย์ เรียกว่า “ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร” วันอาสาฬหบูชาตรงกับวันเพ็ญเดือน 8 และถือเป็นวันที่มีพระรัตนตรัยครบบริบูรณ์ คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์

ความสำคัญวันอาสาฬหบูชา

อาสาฬห หมายถึง เดือน 8 ทางจันทรคติ ดังนั้นคำว่า “อาสาฬหบูชา” จึงหมายถึง การบูชาในเดือน 8 เพื่อระลึกถึงเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในศาสนาพุทธ 3 ประการคือ

เป็นวันที่มีการประกาศศาสนาเป็นครั้งแรก มีการแสดงพระปฐมเทศนา หรือ ธรรมจักกัปปวัตนสูตร ซึ่งเป็นสัจธรรมที่พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณทรงตรัสรู้

เป็นวันที่เกิดประรัตนไตรครบ 3 องค์ คือพระพุทธรัตนะ พระธรรมรัตน และพระสังฆรัตนะ

เป็นวันที่พระโกณฑัญญะ ได้ดวงตาเห็นธรรม หลังจากฟังปฐมเทศนาจบ

alt

อ่านความสำคัญทั้งหมด: http://guru.sanook.com/4159/

ธัมมจักกัปปวัตนสูตร

ธัมมจักกัปปวัตนสูตร ถือเป็น เทศนากัณฑ์แรกที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงเทศนาแก่ปัญจวัคคีย์ โดยมี 5 ท่านคือ โกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะและอัสสชิ เป็นนักบวชที่ออกบวช เพื่อติดตามปรนนิบัติพระพุทธเจ้า

ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงปฐมเทศนา ซึ่งโกณฑัญญะ เป็นคนแรกที่ได้ดวงตาเห็นธรรม บรรลุโสดาบัน ได้บวชเป็นพระภิกษุสงฆ์องค์แรกในพระพุทธศาสนา

alt

ประวัติวันอาสาฬหบูชา

การบูชาในเดือน 8 เริ่มมีขึ้นในประเทศไทย เนื่องจากในปี พ.ศ.2501 คณะสังฆมนตรี ได้กำหนดให้วันนี้เป็นหนึ่งในวันสำคัญทางพุทธศาสนา มีมติให้เพิ่มวันอาสาฬหบูชาเป็นวันหยุดราชการ โดยมีความสำคัญเทียบเท่ากับวันวิสาขบูชา กำหนดระเบียบปฏิบัติในพิธีอาสาฬหบูชาขึ้นไว้ให้วัดทุกวัดถือปฏิบัติทั่วกัน ให้เวลาเช้าและเวลาบ่ายให้มีการฟังธรรมเทศนา ส่วนเวลาค่ำให้ภิกษุสามเณร อุบาสก อุบาสิกา มาประชุมพร้อมกันที่หน้าพระอุโบสถ จุดธูปเทียนแล้วถือรวมกับดอกไม้ยืนประนมมือสำรวมจิต โดยพระสงฆ์ผู้เป็นประธานนำกล่าวคำบูชา

เทียนเข้าพรรษา

เทียนพรรษา เริ่มมีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล ชาวพุทธจะยึดถือเป็นประเพณีนำเทียนไป ถวายพระภิกษุในเทศกาลเข้าพรรษา เพื่อปรารถนาให้ตนเองเป็นผู้เฉลียวฉลาด มีไหวพริบ ประดุจ แสงสว่างของดวงเทียน

alt

เทียนพรรษา คือ เทียนขนาดใหญ่และยาวเป็นพิเศษกว่าเทียนชนิดอื่น สำหรับจุดในโบสถ์ตั้งแต่วันเข้าพรรษาจนถึงวันออกพรรษา (พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525)

อ่าน: ประเพณีแห่เทียนพรรษา ทั้งหมด

ข้อพึงปฏิบัติสำหรับชาวพุทธ

ตักบาตร

กิจกรรมสำหรับพุทธศาสนิกชนในช่วงเช้า คือการตักบาตรใหญ่ อาจจัดขึ้นที่วัดและตามพื้นที่ราชการ โดยมีพระสงค์จำนวนมากเข้าร่วมพิธี

ทำบุญ

พุทธศาสนิกชนนิยมทำบุญในวันอาสาฬหบูชาตลอดทั้งวัน โดยสามารถทำได้ในรูปแบบต่างๆ การถวายสังฆทาน การปล่อยนกปล่อยปลา รวมไปถึงการถือศีล 5 หรือศีล 8 และการฟังเทศน์ที่วัดในช่วงตอนเย็น

เวียนเทียน

การเวียนเทียนนั้นจะเรียกว่าการเวียนเทียนเข้าพรรษา จัดขึ้นในตอนหัวค่ำ เพื่อแสดงความเคารพต่อองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

 

งดเหล้าเข้าพรรษา

การรณรงค์งดเหล้าเข้าพรรษานั้น เป็นข้อปฏิบัติที่ถือเป็นค่านิยมในประเทศไทย เพราะการงดดื่มสุราในช่วงเวลา 3 เดือนของการเข้าพรรษานี้ ถือเป็นการปฏิบัติเพื่อบูชาศาสนา รวมไปถึงการใช้เป็นข้ออ้างทางสังคมเพื่อหลีกหนีจากสุรา

alt

เหตุผลในการงดเหล้าเข้าพรรษา

เพื่อสุขภาพของตัวเอง

เพื่อลดค่าใช้จ่ายในสิ่งมึนเมา

เพื่อลดความเสี่ยง และไม่สร้างบัญหาให้สังคม

เพื่อสืบสานประเพณีที่ดีงาม และทำนุบำรุงศาสนา

สถานที่ทำบุญวันอาสาฬหบูชายอดนิยม

1. วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์)

alt

วัดสำคัญของไทยและเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของไทย และเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2554 วัดโพธิ์ได้ถูกขึ้นทะเบียนจารึก เป็นมรดกความทรงจำโลก โดยยูเนสโก วัดโพธิ์ถือเป็นวัดที่มีพระเจดีย์จำนวนมากที่สุดในประเทศไทย ในแต่ละปีมีนักท่องเที่ยวเดินทางมาเยี่ยมชมจำนวนมาก โดยสัญลักษณ์เด่นที่คนไทยคุ้นเคยกันดีก็คือ “ยักวัดโพธิ์” ตั้งอยู่ที่ทางเข้าพระมณฑป มีสีแดงและสีเขียว

2. วัดอรุณราชวรารามวรมหาวิหาร (วัดอรุณ)

alt

วัดแจ้งหรือวัดอรุณ เป็นวัดที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ตั้งอยู่ที่ปากคลองบางกอกใหญ่ ถือเป็นวัดใหญ่วัดหนึ่งที่เป็นโบราณสถานสำคัญของชาติ ยักษ์วัดแจ้งจะยืนเฝ้าซุ้มประตูทางเข้าพระอุโบสถ การไหว้พระที่วัดอรุณในช่วงวันสำคัญทางศาสนาอย่างวันอาสาฬหบูชา คนไทยถือว่าเป็นมงคลชีวิต มักมีคนไทยหลายๆคน มาทำบุญวันเกิดที่วัดแห่งนี้

3. วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว)

alt

วัดในพระบรมหาราชวัง สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2325 วัดพระแก้วขึ้นชื่อว่าเป็นวัดสำคัญ เป็นหน้าตาของบ้านเมือง และยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของประเทศไทย ตั้งอยู่ที่ถนนหน้าพระลาน พระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษา

 

วันที่ 1 กรกฎาคมของทุกปีเป็นวันวันภาคครึ่งปีธนาคาร ของเมืองไทย

วันภาคครึ่งปีธนาคาร ของเมืองไทย

ธนาคารสมัยก่อนอาจจะยังไม่มีความทันสมัยมาก ฉะนั้นการคิดเงิน การทำบัญชีต่างๆ จะต้องผ่านการทำด้วยมือ คิดด้วยมือ และจะต้องทำให้เกิดการผิดพลาดน้อยที่สุด เมื่อก่อนนี้อาจจะยังไม่มีการหยุดในวันภาคครึ่งปีแบบนี้ แต่เมื่อทางสหภาพแรงงานได้ประกาศออกมา ให้วันที่ 1 กรกฎาคม ของทุกปี เป็นวันหยุดภาคครึ่งปีของกลุ่มผู้ทำงานธนาคาร ซึ่งวันดังกล่าว ได้ยึดถือปฏิบัติมาจนถึงทุกวันนี้
ในประเทศไทยนั้น วันภาคครึ่งปีธนาคาร ซึ่งถือว่าเป็นวันหยุดของธนาคาร ทุกๆปี ในวันที่ 1 กรกฎราคม ซึ่งโดยทั่วไปธนาคารส่วนใหญ่จะปิดทำการ แต่ก็ยังคงมี ธนาคารตามห้างสรรพสินค้า บางธนาคาร ที่ยังคงเปิดให้บริการ ซึ่งวันภาคครึ่งปีธนาคารเป็นธรรมเนียมของธนาคารพาณิชย์ทุกแห่ง ที่ยึดถือเป็นประเพณีปฏิบัติที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนานและต่อเนื่องจนเป็นที่ยอมรับของลูกค้าและประชาชนทั่วไป ว่าวันดังกล่าวเป็นวันหยุดธนาคาร

วันที่ใช้จัดงานวันภาคครึ่งปีธนาคาร

วันภาคครึ่งปีธนาคาร คือวันที่ 1 กรกฎาคม ของทุกปี  

ประวัติวันภาคครึ่งปีธนาคาร

แม้ทุกธนาคารจะมีวิวัฒนาการก้าวหน้า ด้วยระบบไอที เพราะแต่ละแห่งต่างก็มีระบบออนไลน์กันหมด ทำให้สะดวกในการทำงาน และไม่ช้าเหมือนสมัยก่อน รวมถึงการจัดระเบียบบัดคิว ที่ไม่ต้องไปแย่งกันอีกต่อไป แค่คลิกด้วยปลายนิ้ว ก็จะทำให้ข้อมูลต่างๆ ของลูกค้าเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่สามารถเก็บข้อมูลได้โดยที่ไม่ต้องเสียเวลาค้นหาอีกด้วย
วันหยุดครึ่งปีธนาคาร มีมาตั้งแต่อดีต ซึ่งเมื่อก่อนยังไม่มีเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามาอำนวยความสะดวกในการทำธุรกรรมทางการเงินต่างๆ ของธนาคาร การทำบัญชีของธนาคารต่าง ๆ จะทำกันโดยใช้มือลงบัญชี หรือเครื่องลงบัญชีรุ่นเก่า ไม่ได้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เหมือนปัจจุบันนี้ ในอดีตข้อมูลแต่ละวันในธนาคารมีมากทั้งการคิดดอกเบี้ยเงินฝากทั้งหลาย รวมถึงต้องปิดงวดบัญชีกลางปีซึ่งบางปี ของวันที่ 30 มิถุนายน ถ้าไม่ตรงวันศุกร์ จะทำให้พนังงานธนาคารทั้งหมดทำงานกันจนค่ำมืดดึกดื่น และถึงเช้าก็มี เพราะเหตุนี้ทำให้พนักงานไม่มีเวลาพักผ่อน ทางการจึงประกาศให้วันที่ 1 กรกฎาคม เป็นวันหยุดชดเชยให้พนักงาน โดยเป็นคำสั่งจากธนาคารแห่งประเทศไทย(แบงค์ชาติ)
วันหยุดธนาคารทั้งหลาย ส่วนใหญ่เป็นคำสั่งตรงมาจากธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ แบงค์ชาติ โดยปัจจุบันธนาคารใช้คอมพิวเตอร์ กันแทบจะทุกแห่ง ส่วนวันภาคครึ่งปีธนาคารเป็นธรรมเนียมที่ปฏิบัติกันมานานแล้ว เพราะนอกจากพนักงานจะต้องทำการเคลียร์บัญชีที่ลงรายการด้วยมือ ทุกครึ่งปี จะต้องมีการคิดดอกเบี้ย เงินกู้ เงินฝาก ประเภทออมทรัพย์ ทบต้นกับช่วงนี้ จึงเป็นเหตุให้พนักงานที่ต้องทำงานด้านบัญชีและการเงินของแต่ละธนาคาร ต้องทำงานกับดึกดื่น หรือถึงเช้าเลยก็มี ส่วนฝ่ายอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับระบบบัญชี เช่น ประชาสัมพันธ์ ธุรการ ก็ไม่ต้องอยู่ดึกเพราะไม่ได้เป็นผู้ปิดงบหรือทำบัญชี
ที่มีการให้พนักงานหยุดครึ่งปีเพราะกลัวว่าหากเกิดความผิดพลาดในการทำงบ บัญชีครึ่งปีแรก จะได้ไม่มีผลกระทบกับรายการเดินบัญชีของวันถัดไป และอีกสาเหตุหนึ่งก็มาจากการทำงบครึ่งปีนั้นปกติ การทำรายการตอนกลางคืนของธนาคารจะใช้เวลามากกว่าการทำรายการปกติของทุกคืน ทำให้เปิดทำงานปกติไม่ทัน
โดยปกติความมั่นคงทางด้านเศรษกิจการเงินถือเป็นเรื่องที่สำคัญ การทำธุรกรรมทางการเงินต้องเป็นไปอย่างต่อเนื่อง จึงไม่สามารถหยุดติดต่อกันนานๆเกินกว่า 4 วันได้ วันหยุดภาคครึ่งปีธนาคาร เป็นวันหยุดของสถาบันการเงิน เพื่อให้ฝ่ายบัญชีมาเคลียร์บัญชีและถ้าไปตรงกับวันเสาร์ อาทิตย์ จะไม่มีการหยุดชดเชยในวันจันทร์
วันหยุดครึ่งปีของธนาคารได้กลายเป็นธรรมเนียมปฏิบัติกันมาจนถึงทุกวันนี้ แม้ในปัจจุบันธนาคารต่างๆ จะมีระบบคอมพิวเตอร์กันหมดก็ตาม ซึ่งเมื่อพนักงานได้มีโอกาสหยุดวันนี้แล้ว กิจกรรมต่างๆ ที่พนักงานจะได้ทำกันในวันนี้ ก็มีหลากหลายแนวทางที่แตกต่างกันออกไป

โครงการเสริมสร้างมาตรฐานคุณธรรมจริยธรรม เพื่อสร้างจิตสำนึกในการปฏิบัติงานและการบริหารจัดการที่ดีตามหลักธรรมาภิบาลให้กับผู้บริหาร สามาชิกสภา อบต. พนักงานส่วนตำบลและพนักงานจ้างของ อบต.

alt

alt

alt

alt

alt

alt

alt

ประชาสัมพันธ์การเฝ้าระวังและรู้จักกับโรคติดเชื้อไวรัสซิก้า

 
                                                 

alt

 ด้วยความห่วงใยและปรารถนาดีจาก องค์การบริหารส่วนตำบลหนองกระเจ็ด

alt

แผ่นพับประชาสัมพันธ์สถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติสาสตร์

วัดช่อม่วง ตำบลหนองกระเจ็ด อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี

alt

                                               alt

 

Attachments:
Download this file (Doc1.pdf)Doc1.pdf[ ]603 Kb

บทความ อื่นๆ ...


Thai Arabic Belarusian Chinese (Traditional) English French German Japanese Korean Vietnamese

















 

คุณพอใจ อบต.หนองกระเจ็ด ด้านใด





















 















QR Code
อบต.หนองกระเจ็ด



 


ลิขสิทธิ์ © 2559 - 2564 องค์การบริหารส่วนตำบลหนองกระเจ็ด จังหวัดเพชรบุรี สงวนไว้ซึ่งสิทธิทั้งหมด.
องค์การบริหารส่วนตำบลหนองกระเจ็ด อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี โทร 0-3258-6261

นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล