7 เมษายน วันอนามัยโลก


h1

         ทุกวันที่ 7 เมษายนของทุกปี องค์การสหประชาชาติ ได้กำหนดให้เป็น "วันอนามัยโลก" เพื่อให้สมาชิกทุกประเทศ ได้ใช้เป็นโอกาสรณรงค์ให้ประชาชน และทุกภาคส่วนของสังคม ได้ตระหนักถึงความสำคัญของสุขภาพ และร่วมมือกันในการควบคุม ป้องกัน แก้ไขปัญหาสุขภาพ รวมทั้งสร้างเสริมสุขภาพของประชาชนอย่างทั่วถึง และเท่าเทียมกัน … ว่าแต่ วันอนามัยโลก มีประวัติความเป็นมา และมีความสำคัญอย่างไร วันนี้ กระปุกดอทคอม มีข้อมูลมาฝากกันค่ะ

ประวัติความเป็นมา 

         องค์การอนามัยโลก (World Health Organization, WHO) เป็นองค์กรของสหประชาชาติซึ่งมีกำเนิดมาจาก ประชากรของโลกได้ถูกภัยคุมคามจากโรคระบาดต่าง ๆ ทำให้เกิดปัญหาที่ต้องพิจารณากันในระหว่างประชาชาติต่าง ๆ เพราะจะมีโรคระบาดแพร่จากประเทศหนึ่งไปยังประเทศหนึ่งอยู่เสมอ ทำให้ต้องมีการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศต่าง ๆ  และได้ร่วมมือกันจัดการประชุมเกี่ยวกับสุขภาพอนามัยระหว่างประเทศเป็นครั้งแรกที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อ พ.ศ. 2349 เพื่อวางมาตรการควบคุมและกักกันโรคระบาดระหว่างประเทศ

         ต่อมา คณะมนตรีด้านสังคมและเศรษฐกิจแห่งสหประชาชาติ ได้จัดให้มีการประชุมว่าด้วยสุขภาพระหว่างประเทศ เมื่อ พ.ศ. 2489 ที่เมืองนิวยอร์ก ที่ประชุมได้เล็งเห็นว่าสุขภาพของประชาชนเป็นรากฐานของสันติภาพและความมั่นคงปลอดภัยของประชาชาติทั้งมวล จึงได้จัดตั้งคณะกรรมาธิการเพื่อเตรียมการสถาปนาองค์การอนามัยโลก โดยจัดการร่างธรรมนูญขององค์การ อนามัยโลกแล้วเสร็จ ประกาศใช้ธรรมนูญเมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2491 พร้อมกันนี้ สมัชชาองค์การอนามัยโลก ได้พิจารณาให้เฉลิมฉลองวันที่ 7 เมษายนของทุกปีเป็นวันอนามัยโลก (World Health Day) และมีมติให้มีการฉลองพร้อมกันทั่วโลกตั้งแต่ พ.ศ. 2492 โดยองค์การอนามัยโลก ได้กำหนดข้อปัญหาทางอนามัยขึ้นปีละ 1 เรื่อง สำหรับตั้งเป็นคำขวัญ เพื่อให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขทั่วโลกใช้เป็นแนวทางในการให้สุขศึกษาแก่ประชาชน คำขวัญดังกล่าวมีครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2493

งานขององค์การอนามัยโลก นั้นแยกออกได้เป็น 3 ประเภท คือ 

         1. พยายามอำนวยความช่วยเหลือให้แก่ประเทศต่าง ๆ ตามความต้องการเมื่อได้ร้องขอมา

         2. จัดให้บริการด้านสุขภาพอนามัยแก่ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก

         3. ส่งเสริมและประสานงานด้านการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ระหว่างประเทศ เกี่ยวกับปัญหาสุขภาพต่าง ๆ อันไม่อาจดำเนินไปได้โดยลำพังแต่ละประเทศ


ความสำคัญของวันอนามัยโลก 

         องค์การอนามัยโลก นับเป็นองค์กรระหว่างประเทศองค์การหนึ่งที่จัดตั้งขึ้นภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยการดำเนินการของคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจ และสังคมขององค์การสหประชาชาติ โดยอาศัยแนวความคิด และการดำเนินงานขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับการอนามัยที่มีมาก่อน


วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งองค์การอนามัยโลก 

         1. เพื่อช่วยเหลือประชาชนทั่วโลกให้มีพลานามัยอยู่ในระดับสูงสุดเท่าที่สามารถจะทำได้ทั้งในร่างกายและจิตใจ

         2. เพื่อประสานงานส่งเสริมการอนามัยระหว่างชาติ  และร่วมมือกับรัฐบาลประเทศสมาชิกในการดำเนินงานตามโครงการอนามัยต่าง ๆ  รวมทั้งกำหนดมาตรฐานยา และวัคซีน

         3. เพื่อให้บริการทางวิชาการในด้านอนามัยระหว่างประเทศและส่งเสริมการวิจัยทางการแพทย์

         นอกจากนี้ ในทุก ๆ ปี องค์การอนามัยโลก จะมีการตั้งเป้าหมายสำหรับการทำงานด้วยคำขวัญสั้น ๆ เพื่อให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขทั่วโลก ใช้เป็นแนวทางในการให้สุขศึกษาแก่ประชาชนในวันอนามัยโลกแต่ละปี ซึ่งคำขวัญดังกล่าวเริ่มตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2493

คำขวัญ วันอนามัยโลก พ.ศ. 2493-2560 มีดังนี้ 

          พ.ศ. 2493 คำขวัญ คือ "Know Your Own Health Services" เป็นภาษาไทยว่า "จงคุ้นเคยกับบริการอนามัยที่มีไว้เพื่อท่าน"

          พ.ศ. 2494 คำขวัญ คือ "Healthy for Your Child and World's Children" เป็นภาษาไทยว่า "สุขภาพสำหรับเด็กของท่านและของโลก"

          พ.ศ. 2495 คำขวัญ คือ "Healthy Surrounding Makes Healthy People" เป็นภาษาไทยว่า "สิ่งแวดล้อมได้สุขลักษณะ จะทำให้ประชาชนมีอนามัยดีขึ้น"

          พ.ศ. 2496 คำขวัญ คือ "Health is Wealth" เป็นภาษาไทยว่า "อโรคยา ปรมาลาภา"

          พ.ศ. 2497 คำขวัญ คือ "The Nurse-Pioneer of Health" เป็นภาษาไทยว่า "พยาบาล คือ ผู้กรุยทางสุขภาพอนามัย"

          พ.ศ. 2498 คำขวัญ คือ "Clean Water Makes Better Health" เป็นภาษาไทยว่า "น้ำสะอาด ทำให้อนามัยดี"

          พ.ศ. 2499 คำขวัญ คือ "Fight Disease Carrying Insects" เป็นภาษาไทยว่า "จงกำหนดแมลงนำโรค"

          พ.ศ. 2500 คำขวัญ คือ "Food and Health" เป็นภาษาไทยว่า "กินดีมีสุข"

          พ.ศ. 2501 คำขวัญ คือ "Ten Years of Health Progress (1948-1957)" เป็นภาษาไทยว่า "สาธารณสุขก้าวหน้า (2491-2500)"

          พ.ศ. 2502 คำขวัญ คือ "Mental Illness and Mental Health in the World of Today" เป็นภาษาไทยว่า "โรคจิต และสุขภาพจิตทั่วโลกในปัจจุบัน"

          พ.ศ. 2503 คำขวัญ คือ "Malaria Eradication - A World Challenge" เป็นภาษาไทยว่า "ทั่วโลกเร่งรัดให้กำจัดมาลาเรีย"

          พ.ศ. 2504 คำขวัญ คือ "Accidents and Their Prevention" เป็นภาษาไทยว่า "อุบัติเหตุป้องกันได้ ถ้าไม่ประมาท"

          พ.ศ. 2505 คำขวัญ คือ "Preserve Slight : Prevent Blindness" เป็นภาษาไทยว่า "ถนอมสายตา ป้องกันตาบอด"

          พ.ศ. 2506 คำขวัญ คือ "Hunger : Disease of Millions" เป็นภาษาไทยว่า "คนนับล้านมีทุกข์ เพราะโรคขาดสารอาหาร จงกินดีจะมีสุข"

          พ.ศ. 2507 คำขวัญ คือ "No Truce for Tuberculosis" เป็นภาษาไทยว่า "วัณโรคคุกคาม ต้องปราบปรามไม่หยุดยั้ง"

          พ.ศ. 2508 คำขวัญ คือ "Smallpox Constant Alert" เป็นภาษาไทยว่า "ไข้ทรพิษยังมี รีบปลูกฝีทั่วทุกคน"

          พ.ศ. 2509 คำขวัญ คือ "Man and His Cities" เป็นภาษาไทยว่า "ปรับปรุงบ้านเมือง ราษฎร์รุ่งเรือง ใจสุขสันต์"

          พ.ศ. 2510 คำขวัญ คือ "Partners in Health" เป็นภาษาไทยว่า "พัฒนาอนามัยให้สุขสันต์ ต้องร่วมกันทุกฝ่ายจึงได้ผล"

          พ.ศ. 2511 คำขวัญ คือ "Health in the World of Tomorrow" เป็นภาษาไทยว่า "อนาคตจะสดใส เพราะอนามัยช่วยส่งเสริม"

          พ.ศ. 2512 คำขวัญ คือ "Health, Labour and Productivity" เป็นภาษาไทยว่า "อนามัยดี ทวีแรงงาน เพิ่มปริมาณผลผลิต"

          พ.ศ. 2513 คำขวัญ คือ "Early Cancer Detection Saves Lives" เป็นภาษาไทยว่า "มะเร็งรักษาได้ พบเร็วเท่าใด ชีวิตปลอดภัย"

          พ.ศ. 2514 คำขวัญ คือ "A Full Life Despite Diabetes" เป็นภาษาไทยว่า "แม้เป็นเบาหวาน ชีวิตก็เป็นปกติสุขได้"

          พ.ศ. 2515 คำขวัญ คือ "Your Heart is Your Health" เป็นภาษาไทยว่า "หัวใจดีมีสุข"

          พ.ศ. 2516 คำขวัญ คือ "Health Begins at Home" เป็นภาษาไทยว่า "อนามัยดีเริ่มที่บ้าน"

          พ.ศ. 2517 คำขวัญ คือ "Better Food for a Healthier World" เป็นภาษาไทยว่า "ผลิตอาหารพอ บริโภคดี ทวีสุขภาพ"

          พ.ศ. 2518 คำขวัญ คือ "Smallpox : Point of No Return" เป็นภาษาไทยว่า "ไข้ทรพิษจะไม่กลับมา ถ้าปวงประชาได้ปลูกฝี"

          พ.ศ. 2519 คำขวัญ คือ "Foresight Prevents Blindness" เป็นภาษาไทยว่า "ป้องกันล่วงหน้า ตาไม่บอด"

          พ.ศ. 2520 คำขวัญ คือ "Immunize and Protect Your Child" เป็นภาษาไทยว่า "วัคซีนช่วยป้องกัน เด็กของท่านพ้นโรคภัย"

          พ.ศ. 2521 คำขวัญ คือ "Down with High Blood Pressure" เป็นภาษาไทยว่า "อายุจะสั้น ถ้าความดันโลหิตสูง"

          พ.ศ. 2522 คำขวัญ คือ "A Healthy Child, A Sure Future" เป็นภาษาไทยว่า "อนามัยดีแต่เล็ก อนาคตเด็กแจ่มใส"

          พ.ศ. 2523 คำขวัญ คือ "Smoking or Health, The Choice Is Yours" เป็นภาษาไทยว่า "สุขภาพจะดี เมื่องดบุหรี่ได้"

          พ.ศ. 2524 คำขวัญ คือ "Health for All by the Year 2000" เป็นภาษาไทยว่า "สุขภาพดีถ้วนหน้า เมื่อ 2543"

          พ.ศ. 2525 คำขวัญ คือ "Add Life to Years" เป็นภาษาไทยว่า "ให้ความรัก พิทักษ์อนามัย ผู้สูงวัยอายุยืน"

          พ.ศ. 2526 คำขวัญ คือ "Health for All by The Year 2000 : The Countdown Has Begun !" เป็นภาษาไทยว่า "ร่วมกันเร่งพัฒนา ให้สุขภาพดีถ้วนหน้า ก่อน 2543"

          พ.ศ. 2527 คำขวัญ คือ "Children's Health 'Tomorrow's Wealth'" เป็นภาษาไทยว่า "เด็กสุขภาพดี จะมั่งมีวันหน้า"

          พ.ศ. 2528 คำขวัญ คือ "Health Youth Our Best Resource" เป็นภาษาไทยว่า "เยาวชนสุขภาพดี เหมือนมีทรัพยากรเยี่ยม"

          พ.ศ. 2529 คำขวัญ คือ "Health Living : Everyone A Winner" เป็นภาษาไทยว่า "คุณภาพชีวิตดี ทุกชีวีมีสุข"

          พ.ศ. 2530 คำขวัญ คือ "Immunization : A Chance for Every Child" เป็นภาษาไทยว่า "ให้ภูมิคุ้มกัน เป็นโอกาสสำคัญของเด็กทุกคน"

          พ.ศ. 2531 คำขวัญ คือ "Health for All, All for Health" เป็นภาษาไทยว่า "สุขภาพดีถ้วนหน้า เพราะประชาร่วมใจ"

          พ.ศ. 2532 คำขวัญ คือ "Let's Talk Health" เป็นภาษาไทยว่า "คุยกันวันละนิด เพื่อชีวิตและสุขภาพ"

          พ.ศ. 2533 คำขวัญ คือ "Our Planet - Our Health" เป็นภาษาไทยว่า "ร่วมขจัดมลพิษ เสริมสร้างชีวิตและอนามัย"

          พ.ศ. 2534 คำขวัญ คือ "Should Disaster Strike - Be Prepared" เป็นภาษาไทยว่า "เตรียมพร้อมไว้รับภัยพิบัติ - เพื่อกำจัดความสูญเสีย"

          พ.ศ. 2535 คำขวัญ คือ "Heartbeat - The Rhythm of Heart" เป็นภาษาไทยว่า "ออกกำลังกายทุกวัน งดไขมันเหล้าบุหรี่ สุขภาพจิตดี จะไม่มีโรคหัวใจ"

          พ.ศ. 2536 คำขวัญ คือ "Handle Life with Care : Prevent Violence and Negligence" เป็นภาษาไทยว่า "ถนอมชีวิต คิดรอบคอบ ปลอดอุบัติเหตุ"

          พ.ศ. 2537 คำขวัญ คือ "Oral Health for a Healthy Life" เป็นภาษาไทยว่า "แปรงฟันถูกวิธี สุขภาพช่องปากดี พาชีวีสุขสันต์"

          พ.ศ. 2538 คำขวัญ คือ "Target 2000 - A World without Life" เป็นภาษาไทยว่า "2543 ปีเป้าหมาย โลกไร้โปลิโอ"

          พ.ศ. 2539 คำขวัญ คือ "Healthy Cities - For Better Health" เป็นภาษาไทยว่า "บ้านน่าอยู่ เมืองน่าอยู่ อนามัยดี ชีวีสดใส"

          พ.ศ. 2540 คำขวัญ คือ "Emerging Infectious Diseases - Global Alert, Global Response" เป็นภาษาไทยว่า "โรคติดเชื้ออุบัติใหม่ - ตื่นตัวทั่วหน้า ค้นคว้าแก้ไข"

          พ.ศ. 2541 คำขวัญ คือ "Pregnancy is Special - Let's Make It Safe" เป็นภาษาไทยว่า "ตั้งครรภ์นั้นประเสริฐ ร่วมมือกันเถิด แม่ลูกปลอดภัย"

          พ.ศ. 2542 คำขวัญ คือ "Active Ageing Makes the Difference" เป็นภาษาไทยว่า "ผู้สูงวัย อนามัยดี มีคุณค่า ช่วยพัฒนาสังคม"

          พ.ศ. 2543 คำขวัญ คือ "Safe Blood Starts with Me - Blood Saves Lives" เป็นภาษาไทยว่า "โลหิตฉันมั่นใจ ปลอดภัยกับผู้รับ"

          พ.ศ. 2544 คำขวัญ คือ "Stop Exclusion - Dare to Care" เป็นภาษาไทยว่า "ผู้ป่วยทางจิต อย่าคิดผลักไส ควรมีน้ำใจ ห่วงใยเยียวยา"

          พ.ศ. 2545 คำขวัญ คือ "Agita Mundo - Move for Health" เป็นภาษาไทยว่า "ขยับกาย สบายชีวี"

          พ.ศ. 2546 คำขวัญ คือ "Shape the Future of Life" เป็นภาษาไทยว่า "สิ่งแวดล้อมสะอาดสดใส เด็กไทยแข็งแรง"

          พ.ศ. 2547 คำขวัญ คือ  "Road Safety is NO Accident" เป็นภาษาไทยว่า "สำนึกดีขับขี่ปลอดภัย ร่วมใจลดอุบัติเหตุ"

          พ.ศ. 2548 คำขวัญ คือ  "Make Every Mother and Child Count" เป็นภาษาไทยว่า "สุขภาพแม่และเด็กไทย คือ หัวใจของครอบครัว และสังคม"

          พ.ศ. 2549 คำขวัญ คือ "Working Together for health" เป็นภาษาไทยว่า "สานมือ สานใจ  เพื่อคนไทยสุขภาพดี"

          พ.ศ. 2550 คำขวัญ คือ " Invest in Health, Build a Safer Future" เป็นภาษาไทยว่า "ประชาคมโลกปลอดภัย ต้องร่วมใจพัฒนาสาธารณสุข"

          พ.ศ. 2551 คำขวัญ คือ "Protecting Health from Climate Change" เป็นภาษาไทยว่า "รักษ์สุขภาพอนามัยพร้อมใจต้านโลกร้อน"

          พ.ศ. 2552 คำขวัญ คือ "Save Live. Make Hospital Safe in Emergency" เป็นภาษาไทยว่า "โรงพยาบาลพร้อม คุ้มครองทุกชีวิต ในภาวะวิกฤตฉุกเฉิน"

          พ.ศ. 2553 คำขวัญ คือ "1000 cities, 1000 lives" เป็นภาษาไทยว่า "เมืองใหญ่ 1,000 แห่ง เรื่องราวดี ๆ จาก 1,000 ชีวิต"

          พ.ศ. 2554 คำขวัญ คือ "Combat drug resistance-No action, no cure tomorrow" เป็นภาษาไทยว่า "ใช้ยาปฏิชีวนะ อย่างถูกต้อง ป้องกันเชื้อดื้อยา เพื่อการรักษาที่ได้ผล"

          พ.ศ. 2555 คำขวัญ คือ "Good Health adds life to years" เป็นภาษาไทยว่า "ให้ความรัก พิทักษ์อนามัย ผู้สูงวัยอายุยืน"


          พ.ศ. 2556 คำขวัญ คือ "Control your blood pressure" เป็นภาษาไทยว่า "รณรงค์ลดภาวะความดันโลหิตสูง"

          พ.ศ. 2557 คำขวัญ คือ "Small bite, Big threat" เป็นภาษาไทยว่า "ยุง : ภัยคุกคามความมั่นคงทางสุขภาพ"

          พ.ศ. 2558 คำขวัญ คือ "How safe is your food ? From farm to plate, keep it safe" เป็นภาษาไทยว่า "อาหารปลอดภัยสร้างได้ตั้งแต่ฟาร์มจนถึงโต๊ะอาหาร "

 
         พ.ศ. 2559 คำขวัญ คือ  "Halt the rise: beat diabetes" เป็นภาษาไทยว่า "ปราบเบาหวาน"


         พ.ศ. 2560 คำขวัญ คือ "Depression : Let's talk"

        
 เมื่อรู้ถึงความสำคัญของวันอนามัยโลกแล้ว ก็อยากให้ทุก ๆ คนตระหนักถึงความสำคัญในการดูแลสุขภาพของตนเองและครอบครัว เพื่อสุขภายกายและสุขภาพใจที่ดี ตามคำขวัญของวันอนามัยโลกด้วยเช่นกัน

6 เมษายน วันจักรี

alt
 
วันจักรี

          วันจักรี วันที่ 6 เมษายนของทุกปี ซึ่ง วันจักรีมีความสําคัญอย่างไร เป็นวันหยุดราชการหรือไม่ เรามีข้อมูลมาฝาก 
 
          ในทุก ๆ วันที่ 6 เมษายนของทุกปีนั้นถือเป็นสำคัญอีกวันหนึ่งของไทย นั่นคือ วันจักรี ซึ่งเป็นวันที่เราจะร่วมกันระลึกถึงพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รวมถึงมหาจักรีบรมราชวงศ์ วันนี้กระปุกดอทคอมจึงนำประวัติและความสำคัญของวันนี้มาฝากกันค่ะ

วันจักรี คือวันอะไร ตรงกับวันที่เท่าไร

          วันจักรี ภาษาอังกฤษคือ Chakri Memorial Day ตรงกับวันที่ 6 เมษายนของทุกปี สืบเนื่องมาจากเมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช หรือพระรามาธิบดีที่ 1 เสด็จปราบดาภิเษกขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ดังนั้นในวันที่ 6 เมษายนของทุกปีจึงนับเป็นวันครบรอบการก่อตั้งราชวงศ์จักรี

วันจักรี มีความสําคัญอย่างไร

          นอกจากจะเป็นวันแห่งการก่อตั้งราชวงศ์จักรีแล้ว ในวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 ยังเป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชการทรงสร้างกรุงเทพมหานครเป็นเมืองหลวงของไทยอีกด้วย จึงนับเป็นวันครบรอบกรุงเทพมหานคร ซึ่งในปัจจุบัน (พ.ศ. 2559) กรุงเทพมหานครมีอายุครบ 234 ปี

          ด้วยพระมหากรุณาธิคุณดังกล่าว ในปี พ.ศ. 2416 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้โปรดเกล้าฯ ให้หล่อพระบรมรูปของพระเจ้าอยู่หัวทั้ง 4 พระองค์ ซึ่งก็คือรัชกาลที่ 1 ถึง รัชกาลที่ 4 เพื่อประดิษฐานไว้ให้พระมหากษัตริย์องค์ต่อมาและพระบรมวงศานุวงศ์ รวมถึงข้าราชการและประชาชน ได้ถวายบังคมระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณเป็นธรรมเนียมปีละครั้ง โดยได้มีการโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญไปประดิษฐานไว้บนพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท และได้มีการย้ายที่อีกหลายครั้งไม่ว่าจะเป็นพระพี่นั่งพุทไธสวรรย์ปราสาท หรือพระที่นั่งศิวาลัยปราสาท 

          ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 โปรดเกล้าฯ ให้ย้ายพระบรมรูปของทั้ง 4 พระองค์ มาไว้ ณ ปราสาทพระเทพบิดร ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม พร้อมกับพระบรมรูปของรัชกาลที่ 5 


          ทั้งนี้การซ่อมแซม ก่อสร้าง และประดิษฐานพระบรมรูปทั้ง 5 รัชกาล มาแล้วเสร็จในเดือนเมษายน พ.ศ. 2461 จึงได้มีพระบรมราชโองการประกาศตั้งพระราชพิธีถวายบังคมพระบรมรูป ในวันที่ 6 เมษายนในปีนั้น และได้โปรดเกล้าฯ ให้เรียกว่า "วันจักรี" 

วันจักรี เป็นวันหยุดราชการหรือไม่

          ทุกวันที่ 6 เมษายน หรือวันจักรี รัฐบาลได้ประกาศให้เป็นวันหยุดราชการ แต่หากวันจักรีในปีใดตรงกับวันเสาร์-อาทิตย์ ให้หยุดชดเชยได้ในวันทำการถัดไป

วันจักรี กิจกรรมมีอะไรบ้าง

          ในวันจักรี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รวมทั้งพระบรมวงศานุวงศ์ จะเสด็จฯ บำเพ็ญพระราชกุศลให้กับบูรพมหากษัตริย์ ณ พระอุโบสถวัดพระแก้ว และเสด็จฯ วางพวงมาลา ณ พระบรมราชานุสรณ์ของ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ที่เชิงสะพานพระพุทธยอดฟ้า

          ขณะที่หน่วยงานราชการ เอกชน และภาคประชาชน จะจัดกิจกรรมเพื่อระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และมหาจักรีบรมราชวงศ์ เช่น จัดพิธีถวายบังคมพระรูป จัดนิทรรศการ กิจกรรมเฉลิมพระเกียรติต่าง ๆ 

           และทั้งหมดก็คือความเป็นมาของวันจักรี ที่ไม่ได้เป็นเพียงแค่วันหยุดราชการธรรมดา ๆ แต่เป็นวันที่ประชาชนทุกคนควรระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระมหากษัตริย์ของไทยทุกพระองค์

วันพระราชสมภพ ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี

ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี
 

        alt                  

 

ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ทรงเป็นพระราชธิดาพระองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ประสูติเมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๔ ณ โรงพยาบาลมองชัวซีส์ เมืองโลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และได้เสด็จนิวัติพระนคร แล้วประทับ ณ พระที่นั่งอัมพรสถานพระราชวังดุสิต

 

และเมื่อถึงงานพระราชพิธีสมโภชเดือนและขึ้นพระอู่แล้ว พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระอิสริยยศเมื่อประสูติ คือ "สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี" โดยพระนามของพระองค์มาจากพระนามและนามของพระประยูรญาติหลายพระองค์ อันได้แก่


• สร้อยพระนาม "สิริ" มาจากพระนามาภิไธยของ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
• สร้อยพระนาม "วัฒนา" มาจากพระนามาภิไธยของ สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า (สว่างวัฒนา) ซึ่งเป็นสมเด็จพระอัยยิกาใน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
• พระนาม "อุบลรัตน์" มาจากนามของ หม่อมหลวงบัว กิติยากร พระอัยกีของพระองค์

 

นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงมีพระนามเล่นของพระองค์ว่า ลา ปูเป้ (La Poupée) ซึ่งเป็นคำมาจากภาษาฝรั่งเศส แปลว่า ตุ๊กตา ทูลกระหม่อมพ่อและสมเด็จแม่ของพระองค์ท่าน ทรงเรียกว่า "เป้" อีกด้วย



ที่มา: http://www.royjaithai.com/Princess_ubonrat.php# 

การศึกษา

การศึกษาของทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดีตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ ทรงเข้ารับการศึกษาจนสำเร็จการศึกษาขั้นต้นจากโรงเรียนจิตรลดา จนกระทั่งทรงสำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษา แล้วต่อมาจึงได้เสด็จไปประทับ ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อทรงเข้ารับการศึกษาต่อ



การเสกสมรส

alt
เมื่อวันที่ ๒๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๑๕ ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ทรงลาออกจากฐานันดรศักดิ์แห่งพระราชวงศ์ เพื่อทรงเสกสมรสกับนายปีเตอร์ แลด เจนเซน ชาวอเมริกัน และทรงประทับอยู่ประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นเวลา 26 ปี 



เสด็จนิวัติประเทศไทย

alt
เมื่อทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี เมื่อได้ทรงประทับขณะอยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา พระองค์ก็จะเสด็จนิวัติประเทศไทยหลายครั้ง เพื่อทรงร่วมงานพระราชพิธีและพิธีต่าง ๆ และทรงเยี่ยมพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์ เป็นประจำ



พระกรณียกิจ

alt



 

๑. ด้านการส่งเสริมและช่วยเหลือ

๒. ด้านการช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ

๓. ด้านสังคมสงเคราะห์

๔. ด้านการศาสนา

๕. ด้านการศึกษา

 

2 เมษายน วันอนุรักษ์มรดกไทย


วันอนุรักษ์มรดกไทย
 

          2 เมษายนของทุกปี เป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในฐานะที่ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณอย่างใหญ่หลวง ในงานด้านศิลปวัฒนธรรมของชาติ รัฐบาลจึงกำหนดให้เป็น "วันอนุรักษ์มรดกไทย" ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2528 เป็นต้นมา


คำจำกัดความ "มรดกไทย"

          "มรดกไทย คือ มรดกทางวัฒนธรรมที่แสดงออกถึงสัญลักษณ์ของความเป็นชาติ  ซึ่งได้แก่ โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ โบราณสถาน วรรณกรรม ศิลปหัตถกรรม นาฏศิลป์และดนตรี  ตลอดจนถึงการดำเนินชีวิตและคุณค่าประเพณีต่าง ๆ อันเป็นผลผลิตร่วมกันของผู้คนในผืนแผ่นดินในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา" (คณะกรรมการอำนวยการวันอนุรักษ์มรดกไทย)
วันอนุรักษ์มรดกไทย

ประวัติความเป็นมา 

          เมืองไทยของเรานับว่าเป็นเมืองที่มีเอกลักษณ์อันโดดเด่นทางด้าน ศิลปวัฒนธรรมที่บรรพบุรุษได้สร้างสรรค์เอาไว้มากมาย ไม่ว่าจะเป็น โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ โบราณสถาน วรรณกรรม ศิลปหัตถกรรม นาฏศิลป์ ดนตรี ตลอดจนการดำเนินชีวิต และประเพณีต่าง ๆ ที่สืบทอดต่อ ๆ กันมายาวนาน จนกลายเป็นมรดกไทยอันทรงคุณค่าและเป็นจุดเด่นของประเทศไทยเรา



หนังตะลุง
 

          แต่เมื่อเทคโนโลยี และมีการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ทำให้มรดกไทย วัฒนธรรมไทยบางอย่างได้เปลี่ยนไป และลูกหลานไทยก็ไม่มีการรักษาไว้ซึ่งมรดกไทยอันล้ำค่าเหล่านี้ไว้ และถึงแม้จะมีหน่วยงานภาครัฐรับผิดชอบในการดูแล แต่เนื่องจากมรดกไทยมีมากมาย และอาจไม่ทันการณ์กับการเปลี่ยนไปของโลก จึงทำให้มรดกอันทรงคุณค่าของไทยบางส่วนได้ถูกทำลายไป 

          ด้วยเหตุนี้ กรมศิลปากรจึงได้นำเสนอคณะรัฐมนตรีกำหนดให้มีวันอนุรักษ์มรดกไทย เพื่อให้ประชาชนชาวไทยได้รำลึกถึงความสำคัญ และความจำเป็นของการอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมของชาติขึ้น ซึ่งในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2528 รัฐบาลซึ่งมี ฯพณฯ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี ก็ได้ประกาศให้วันที่ 2 เมษายนของทุกปี ซึ่งเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เป็น "วันอนุรักษ์มรดกไทย"  ด้วยตระหนักในพระปรีชาสามารถทางด้านศิลปวัฒนธรรมของพระองค์ และในฐานะทรงมีพระมหากรุณาธิคุณอย่างใหญ่หลวง ในงานด้านศิลปวัฒนธรรมของชาติตลอดมา

          และเมื่อวันที่ 23 กรกฏาคม พ.ศ. 2532 รัฐบาลยังได้มีการจัดตั้งกองทุนอนุรักษ์มรดกไทยขึ้นทุกจังหวัดทั่วประเทศ เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนทั้งหลายได้มีโอกาสเข้ามามีส่วนร่วมในการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมไทยอีกด้วย



วันอนุรักษ์มรดกไทย  

 

วัตถุประสงค์ของการจัดงานวันอนุรักษ์มรดกไทย 

          1. เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนได้ตระหนักถึงความสำคัญและเห็นคุณค่ามรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติ

          2. เพื่อรณรงค์ให้มีการสงวนรักษามรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติอย่างถูกวิธี

          3. เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนและภาคเอกชนได้มีความรู้สึกร่วมในความเป็นเจ้าของโบราณสถาน โบราณวัตถุและร่วมรับผิดชอบดูแลทะนุบำรุงรักษาได้เป็นมรดกไทยประจำถิ่น

          4. เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในท้องถิ่น

          5. เพื่อลดอัตราการสูญเสีย และการถูกทำลายของโบราณสถานโบราณวัตถุให้น้อยลง

          6. เพื่อสกัดกั้นอิทธิพลของวัฒนธรรมต่างชาติ ซึ่งมีผลให้วัฒนธรรมไทยเบี่ยงเบนเปลี่ยนทิศทางไป



วันอนุรักษ์มรดกไทย



กิจกรรมในวันอนุรักษ์มรดกไทย 

          หน่วยงานราชการร่วมกันจัดกิจกรรมที่เสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรม เช่น 

          - การจัดนิทรรศการการจัดการแสดง การฉายภาพยนตร์ ทัศนศึกษาโบราณสถาน

          - รณรงค์ให้มีการพัฒนา บูรณะและทำความสะอาดโบราณสถาน ศาสนสถาน 

          - กิจกรรมส่งเสริมอื่น ๆ ที่มีการส่งเสริมการอนุรักษ์มรดกไทย


ขอขอบคุณข้อมูลจาก
lib.ru.ac.th

2 เมษายน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชสมภพ

 

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ พระเทพฯ

 เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันเสาร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2498 (ตรงกับวันขึ้น 10 ค่ำ เดือน 5 ปีมะแม สัปตศก) ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต เป็นสมเด็จพระเจ้าลูกเธอพระองค์ที่ 3 ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ โดยศาสตราจารย์ นายแพทย์หม่อมหลวงเกษตร สนิทวงศ์ เป็นผู้ถวายพระประสูติกาล และได้รับการถวายพระนามจากสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ว่า สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนสุดา กิติวัฒนาดุลโสภาคย์ พร้อมทั้งประทานคำแปลว่า นางแก้ว อันหมายถึง หญิงผู้ประเสริฐ และมีพระนามที่ข้าราชบริพาร เรียกทั่วไปว่า ทูลกระหม่อมน้อย

พระนาม "สิรินธร" นั้น นำมาจากสร้อยพระนามของสมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร ซึ่งเป็นสมเด็จพระราชปิตุจฉา (ป้า) ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช

สำหรับสร้อยพระนาม "กิติวัฒนาดุลโสภาคย์" ประกอบขึ้นจากพระนามาภิไธยของสมเด็จพระบรมราชบุพการี 3 พระองค์ ได้แก่ "กิติ" มาจากพระนามาภิไธยของ "สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ" สมเด็จพระราชชนนี (แม่) ส่วน "วัฒนา" มาจากพระนามาภิไธยของ "สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า" (สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี) สมเด็จพระปัยยิกา (ย่าทวด) และ "อดุล" มาจากพระนามาภิไธยของ "สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก" สมเด็จพระอัยกา (ปู่)

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ พระเทพฯ

การศึกษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี 
เมื่อปี พ.ศ. 2501 พระองค์ทรงเริ่มเข้ารับการศึกษาระดับอนุบาลที่โรงเรียนจิตรลดา ซึ่งตั้งอยู่ภายในพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต และทรงศึกษาต่อในโรงเรียนจิตรลดาจนถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย[5] และ ในปี พ.ศ. 2515 ก็ทรงสอบไล่จบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ในแผนกศิลปะ ด้วยคะแนนสูงสุดของประเทศ

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ พระเทพฯ

หลังจากนั้น พระองค์ทรงสอบเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา ณ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จนกระทั่ง ปี พ.ศ. 2520 พระองค์ทรงสำเร็จการศึกษาได้รับปริญญาอักษรศาสตรบัณฑิต สาขาประวัติศาสตร์ เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง เหรียญทอง ด้วยคะแนนเฉลี่ย 3.98

พระองค์ทรงเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาโท ด้านจารึกภาษาตะวันออก (ภาษาสันสกฤต และภาษาเขมร) ณ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากรและสาขาภาษาบาลีและสันสกฤต จาก ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในระหว่างนั้น มีพระราชกิจมากจนทำให้ไม่สามารถทำวิทยานิพนธ์ในระดับปริญญาโทได้พร้อมกันทั้ง 2 มหาวิทยาลัย พระองค์จึงตัดสินพระทัยเลือกทำวิทยานิพนธ์เพื่อให้สำเร็จการศึกษาที่คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากรก่อน โดยทรงทำวิทยานิพนธ์ห้วข้อเรื่อง "จารึกพบที่ปราสาทพนมรุ้ง" ทรงสำเร็จการศึกษาได้รับปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต และเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2522 หลังจากนั้น พระองค์ทรงทำวิทยานิพนธ์หัวข้อเรื่อง "ทศบารมีในพุทธศาสนาเถรวาท" ทรงสำเร็จการศึกษาได้รับปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต จากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และได้เข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2524

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ พระเทพฯ

พระองค์ทรงเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาเอก ณ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ โดยพระองค์ผ่านการสอบคัดเลือกอย่างยอดเยี่ยมด้วยคะแนนเป็นอันดับหนึ่งในบรรดาผู้เข้าสอบทั้งหมด และทรงเป็นนิสิตปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาพัฒนศึกษาศาสตร์ รุ่นที่ 4 พระองค์ทรงทำวิทยานิพนธ์ในหัวข้อเรื่อง "การพัฒนานวัตกรรมเสริมทักษะการเรียนการสอนภาษาไทยสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย" เนื่องจากพระองค์ทรงตระหนักว่าสภาพการเรียนการสอนภาษาไทยนั้นมีปัญหา เพราะนักเรียนไม่ค่อยสนใจเรียนภาษาไทย มีความรู้ ความสามารถ ทักษะในการเข้าใจและใช้ภาษาไม่เพียงพอ พระองค์จึงทรงนำเสนอวิธีการสอนภาษาไทยในลักษณะนวัตกรรมเสริมทักษะการเรียนการสอน เพื่อส่งเสริมความสนใจในการเรียนภาษาไทยของนักเรียนและเป็นสื่อที่จะช่วยให้ครูสอนภาษาไทยได้ง่ายขึ้น พระองค์ทรงสอบผ่านวิทยานิพนธ์อย่างยอดเยี่ยม สภามหาวิทยาลัยอนุมัติให้ทรงสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาเอก เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2529
การสถาปนาพระอิสริยศักดิ์

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช มีพระราชดำริว่า สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนสุดา กิติวัฒนาดุลโสภาคย์ ทรงได้รับความสำเร็จในการศึกษาอย่างงดงาม และทรงได้บำเพ็ญพระองค์ให้เป็นประโยชน์แก่ชาติบ้านเมืองเป็นอเนกปริยาย โดยเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมเยียนราษฎรในภูมิภาคต่าง ๆ อยู่เสมอ ในด้านการพัฒนาบ้านเมือง เสด็จพระราชดำเนินไปทรงศึกษาและช่วยเหลือกิจการโครงการตามพระราชดำริทุกโครงการ พร้อมทรงรับพระบรมราโชบายมาทรงดำเนินการสนองพระเดชพระคุณในด้านต่าง ๆ นับเป็นการดูแลสอดส่องพระราชกรณียกิจส่วนหนึ่งต่างพระเนตรพระกรรณ ในด้านการพระศาสนา มีพระหฤทัยมั่นคงในพระรัตนตรัยและสนพระหฤทัยศึกษาหาความรู้ด้านพระพุทธศาสนาและศาสนาอื่นอย่างแตกฉาน ในส่วนราชการในพระองค์นั้น ก็ได้สนองพระเดชพระคุณในพระราชภารกิจที่ทรงมอบหมายให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี

สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ พระองค์นี้ กอปรด้วยพระจรรยามารยาท เพียบพร้อมด้วยคุณสมบัติแห่งขัตติยราชกุมารีทุกประการ เป็นที่รักใคร่นับถือ ยกย่องสรรเสริญพระเกียรติคุณกันอยู่โดยทั่ว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาพระอิสริยยศและพระอิสริยศักดิ์ให้สูงขึ้น ให้ทรงรับพระราชบัญชาและสัปตปฎลเศวตฉัตร (เศวตฉัตร 7 ชั้น) พร้อมทั้ง เฉลิมพระนามตามที่จารึกในพระสุพรรณบัฏว่า สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2520

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ พระเทพฯ

ในการสถาปนาพระอิสริยยศสำหรับพระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายใน ตั้งแต่เริ่มตั้งกรุงรัตนโกสินทร์จนถึงปัจจุบัน การสถาปนาพระยศ "สมเด็จพระ" นั้น ส่วนใหญ่จะเป็นการสถาปนาพระยศของสมเด็จพระบรมราชชนนี พระพันปีหลวง สมเด็จพระบรมอัยยิกาเธอ พระวิมาดาเธอ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ ในรัชกาลต่าง ๆ แต่การสถาปนาในครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกที่มีการสถาปนาสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้า ขึ้นเป็น "สมเด็จพระ" จึงเป็นพระเกียรติยศที่สูงยิ่ง
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ พระเทพฯ

พระราชกิจ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี

นอกเหนือจากพระราชภารกิจในหน้าที่ราชการ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจด้านต่าง ๆ ครอบคลุมงานสำคัญ ๆ อันเป็นประโยชน์หลักของบ้านเมือง เกือบทุกด้าน และทรงได้รับความไว้วางพระราชหฤทัย ให้ทรงปฏิบัติ พระราชกรณียกิจที่ทรงสืบสาน ต่อจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ ตามที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ มอบหมาย โดยเฉพาะการทรงงาน ด้านการบริหารองค์การ และมูลนิธิ เพื่อสาธารณกุศล ทรงดำรงตำแหน่งประธานกรรมการมูลนิธิชัยพัฒนา ประธานมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล อุปนายิกาผู้อำนวยการสภากาชาดไทย รวมทั้งการเสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ และการปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ ในโอกาสต่าง ๆ เช่น การพระราชทานพระราชวโรกาสให้คณะบุคคลต่าง ๆ เฝ้า ฯ การพระราชทานปริญญาบัตร การถวายผ้าพระกฐิน เป็นต้น

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีทรงจัดตั้งโครงการต่าง ๆ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กและเยาวชนผู้ยากไร้ในชนบท โดยเฉพาะการส่งเสริมสุขภาพอนามัย และแก้ไขปัญหาภาวะทุพโภชนาการ ทรงเห็นว่าเด็กจะเรียนหนังสือไม่ได้ ถ้าท้องหิว หรือเจ็บป่วย จึงทรงริเริ่มโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน ในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ตั้งแต่พุทธศักราช ๒๕๒๓ ทรงเห็นความสำคัญของการศึกษาขั้นพื้นฐาน จึงพระราชทานพระราชทรัพย์ให้ก่อสร้างโรงเรียนในถิ่นทุรกันดาร ศูนย์การเรียนชุมชนสำหรับชาวไทยภูเขา ห้องเรียนเคลื่อนที่ ทั้งพระราชทานพระราชทรัพย์เป็นค่าตอบแทนครูผู้สอน และทรงจัดหาอุปกรณ์การเรียนการสอนพระราชทาน เพื่อให้เยาวชนมีโอกาสได้รับการศึกษาที่เหมาะสม จะได้มีความสามารถในการพึ่งตนเอง และเป็นที่พึ่งของครอบครัวได้ในอนาคต ทรงติดตามการดำเนินงาน โครงการตามพระราชดำริอย่างใกล้ชิด และเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรในโครงการ ด้วยพระองค์เองเสมอ

จากการที่มีประชาชนและหน่วยงานต่าง ๆ ได้ทูลเกล้า ฯ ถวายเงินเพื่อโดยเสด็จพระราชกุศล หรือสมทบทุนดำเนินงานโครงการพัฒนาต่าง ๆ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้นำเงินที่มีผู้ทูลเกล้า ฯ ถวายดังกล่าวมาจัดตั้งเป็นกองทุน ทุนการกุศลสมเด็จพระเทพ ฯ เพื่อให้การสงเคราะห์ช่วยเหลือประชาชนผู้ทุกข์ยากเดือดร้อน หรือเพื่อการสาธารณประโยชน์อื่น ๆ

นอกเหนือจากงานพัฒนา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี สนพระทัยงานศิลปวัฒนธรรมไทยเป็นอย่างยิ่ง มีพระราชดำริว่า ควรจะมีการถ่ายทอดงานด้านวัฒนธรรมไปสู่เด็กและเยาวชนรุ่นใหม่ ผ่านกระบวนการจัดการศึกษาอบรม ทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อให้คนรุ่นใหม่เหล่านี้ได้เรียนรู้ ตระหนักความสำคัญ รักและผูกพันในศิลปวัฒนธรรมของชาติ สามารถสืบทอดเพื่อการอนุรักษ์และอาจพัฒนาเป็นอาชีพได้ ทรงสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมเพื่ออนุรักษ์และสืบทอดมรดกทางศิลปวัฒนธรรมของไทย พระอุตสาหะในการปฏิบัติกิจการอันเป็นประโยชน์แก่บ้านเมืองและประชาชน เป็นที่ประจักษ์แก่พสกนิกรทั่วหน้า จึงทรงได้รับการทูลเกล้า ฯ ถวายรางวัลเกียรติยศ พระเกียรติคุณ ตำแหน่งเกียรติยศ และปริญญากิตติมศักดิ์ จากสถาบัน หน่วยงานและองค์กร ทั้งในราชอาณาจักรและต่างประเทศจำนวนมาก

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ พระเทพฯ

พระราชจริยาวัตรที่ประชาชนทั่วไปได้เห็นประจักษ์ คือ พระเมตตาและความเอาพระทัยใส่ในชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี มีพระราชปณิธานที่จะช่วยเหลือผู้ที่ทุกข์ยาก เดือดร้อนโดยไม่เลือกชั้นวรรณะ เผ่าพันธุ์ เชื้อชาติ ศาสนา พสกนิกรต่างยกย่อง และชื่นชมในพระบารมี ดังนั้น เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติที่ทรงมีคุณูปการต่อชาติบ้านเมืองในด้านต่าง ๆ มาโดยตลอด จึงมีบุคคล หน่วยงาน สมาคม และองค์กรต่าง ๆ ทั้งในราชอาณาจักรและในต่างประเทศ ขอพระราชทานอัญเชิญพระนามาภิไธย และขอพระราชทานนาม ไปเป็นชื่อพรรณพืช และสัตว์ที่ค้นพบใหม่ในโลก รวมทั้งสถานที่ และสิ่งต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติและเป็นสิริมงคลสืบไป นอกจากนี้ ยังได้ทรงพระกรุณารับสมาคม สถาบัน และองค์กรต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามแนวพระราชดำริ หรือที่มีวัตถุประสงค์ดำเนินการในเรื่องต่าง ๆ ที่ทรงให้การสนับสนุน ซึ่งล้วนเป็นไปเพื่อช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส ผู้ขาดแคลน หรือเพื่อการสาธารณประโยชน์ไว้ในพระราชูปถัมภ์

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ พระเทพฯผลการค้นหารูปภาพสำหรับ พระเทพฯผลการค้นหารูปภาพสำหรับ พระเทพฯ

บทความ อื่นๆ ...


Thai Arabic Belarusian Chinese (Traditional) English French German Japanese Korean Vietnamese

















 

คุณพอใจ อบต.หนองกระเจ็ด ด้านใด





















 















QR Code
อบต.หนองกระเจ็ด



 


ลิขสิทธิ์ © 2559 - 2564 องค์การบริหารส่วนตำบลหนองกระเจ็ด จังหวัดเพชรบุรี สงวนไว้ซึ่งสิทธิทั้งหมด.
องค์การบริหารส่วนตำบลหนองกระเจ็ด อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี โทร 0-3258-6261

นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล